อาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ
ReadyPlanet.com
dot
test member
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


facebook.com/h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
h2ohydrogarden@hotmail.com/chu0880 hydroponics soilless culture
BANSABAI hostel
Department of Agricultural Extension
Kasetsart University h2ohydrogarden hydroponics soilless culture
IG:h2ohydrogarden
Line:h2ohydrogarden


อาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ

วันนี้เอาข้อมูลที่หน้าสนใจจาก สวทช มาฝากกันนะคะ เกี่ยวกับลักษณะอาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ จากการไดรับธาตุอาหารมากเกินไปขอต้นผักค่ะ ข้อมูลน่าสนใจมาก คงต้องลองไปสังเกตุกันเอาดูที่ฟาร์มของเรานะคะ ว่าผักที่เราปลูกมีอาการแบบนี้บ้างหรือป่าว

 

ลักษณะอาการขาดธาตุอาหารและลักษณะอาการเป็นพิษ จากการไดรับธาตุอาหารมากเกินไป

พืชชั้นสูงจะได้รับธาตุคารบอน และออกซิเจนเกือบทั้งหมดที่พืชต้องการจากอากาศโดยตรง โดยคารบอนเขาสู่พืชโดยตรงจากทางปากใบ (Stomata) ในรูป ก๊าซคารบอนไดออกไซด์ (CO2) และไดรับออกซิเจนในรูปก๊าซออกซิเจน (O2) ทางปากใบและที่ผิวของราก สำหรับไฮโดรเจนนั้นพืชได้รับไฮโดรเจนอะตอมจากโมเลกุลของน้ำในขบวนการสังเคราะห์แสง เนื่องจากธาตุทั้ง 3 มีอยู่อย่างเหลือเฟือในสภาพธรรมชาติ

จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความสนใจน้อยกว่าธาตุอาหารพืชอื่นๆ อีก 13 ธาตุ ที่พืชได้รับจากดินหรือกำเนิดจากดิน เนื่องจากปริมาณที่พืชได้รับมักไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยมีความรุนแรงในการขาดธาตุอาหารเหล่านี้แตกต่างกันไปตามแต่สภาพของวัตถุต้นกำเนิดดินและสภาพการณ์ ใช้พื้นที่ โดยธาตุทั้ง 13 ชนิดนั้นจะแบ่งออก เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

1) ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณมาก (Macronutrient elements) ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ กำมะถัน

2) ธาตุอาหารที่พืชต้องการเป็นปริมาณน้อย (Micronutrient elements) ได้แก่ เหล็ก สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน

 

อาการขาดธาตุอาหารและอาการเป็นพิษจากการได้รับมากเกิน

1) ไนโตรเจน

อาการขาด : การเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก และใบมีสีเหลืองซีดจากการขาดคลอโรฟีลล์ โดยเฉพาะบริเวณใบแก่ ใบอ่อนจะยังคงมีสีเขียวนานกวา ในพืชพวกข้าวโพดและมะเขือเทศ ลำต้น ก้านใบ ผิวใบด้านล่างเปลี่ยนเป็นสีม่วงได้

อาการเป็นพิษ : พืชมีสีเขียวเข้ม  ระบบรากถูกจำกัด ในมันฝรั่งจะมีหัวเล็กลง การออกดอกออกผลของพืชจะช้าลง (พืชแก่ช้า)

2) ฟอสฟอรัส

อาการขาด : พืชจะแคระแกร็นและมีสีเขียวเข้ม มีการสะสมสารสีของแอนโทไซยานิน อาการขาดเบื้องตนจะเกิดในใบแก่และทำให้พืชแก่ช้า

อาการเป็นพิษ : บางครั้งอาการที่ปรากฏจะคลายกับอาการขาดธาตุทองแดงและสังกะสี หากได้รับฟอสฟอรัสมากเกินไป

3) โพแทสเซียม

อาการขาด : ในเบื้องตนสังเกตได้ที่ใบแก่ในพืชใบเลี้ยงคู่ ใบจะมีสีซีด ในระยะตอมาจะพบจุดสีเข้มที่เนื้อใบตายกระจายเป็นจุด ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวหลายชนิดบริเวณปลายใบและ เส้นใบ จะตายก่อน อาการขาดโพแทสเซียมในข้าวโพด ลำต้นจะอ่อนแอ

อาการเป็นพิษ : เนื่องจากพืชมักจะดูดใช้โพแทสเซียมมากเกินไป ในส้ม ผลส้มจะมีผิวหยาบ เมื่อพืชดูดใช้โพแทสเซียมที่มากเกินไปจะชักนำให้พืชมีอาการขาดแมกนีเซียมและ เป็นไปได้ว่าจะขาดแมงกานีส, สังกะสี และเหล็ก

4) กำมะถัน

อาการขาด : ไม่คอยจะพบมากนัก แต่ถ้าเกิดอาการขาดโดยทั่วไปใบมักจะมีสีเหลือง โดยเกิดที่ใบอ่อนก่อน

อาการเป็นพิษ : ลดการเจริญเติบโตและขนาดของใบ ซึ่งยากต่อการสังเกต บางครั้งพบว่าใบเหลืองหรือใบไหม้

5) แมกนีเซียม

อาการขาด : เกิดอาการซีดในพื้นที่ใบที่อยู่ระหว่างเส้นใบ ในขณะที่เส้นใบยังคงเขียวอยู่ อาการซีดจะเกิดที่ใบพื้นที่บริเวณใกล้เส้นกลางใบก่อนแล้วลามไปที่ปลายใบ โดยเกิดใน ใบแก่ก่อน

อาการเป็นพิษ : มีข้อมูลน้อยมาก เนื่องจากยากต่อการสังเกต

6) แคลเซียม

อาการขาด : การพัฒนาของตายอดจะชะงักการเจริญเติบโต และปลายรากจะตาย จะเกิดในใบอ่อนก่อนใบแก่ และเส้นใบจะบิดเบี้ยว มีจุดแหงตายของใบ

อาการเป็นพิษ : ยากต่อการสังเกต มักเป็นรวมกันกับอาการเป็นพิษจากคาร์บอเนต

7) เหล็ก

อาการขาด : อาการซีดคลายกับอาการขาดแมกนีเซียมแต่เกิดขึ้นในใบแก่

อาการเป็นพิษ : ในสภาพธรรมชาติมักไม่พบชัดเจนนักแต่เมื่อมีการพ้นเหล็กกับพืชทดลองว่าปรากฏเป็นเนื้อเยื่อมีลายเป็นจุด ๆ

8) คลอรีน

อาการขาด : ใบมีอาการเหี่ยวแล้วค่อย ๆเหลืองแล้วตายเป็นลำดับหรือบางครั้งมีสีบรอนซ์เงินรากจะคอยแคระแกรนและบางลงใกล้ปลายราก

อาการเป็นพิษ : ปลายใบหลังเส้นใบไหม้ เป็นสีบรอนซ์ ใบเหลืองและใบร่วงและบางครั้งซีด ขนาดใบเล็กลงอัตราการเจริญเติบโตลดลง

9) แมงกานีส

อาการขาด : อาการแรกมักจะซีดตรงระหว่างเส้นใบในใบอ่อนหรือแก่ขึ้นอยู่กับชนิดพืชแผลเนื้อเยื่อตายและใบร่วงในเวลาต่อมา คลอโรพลาสตไม่ทำงาน

อาการเป็นพิษ : บางครั้งมีสีซีดๆ อาการคลายกับขาดธาตุเหล็กในสับปะรด คือ คลอโรฟิลล์ไม่กระจายตัวการเจริญเติบโตลดลง

10) โบรอน

อาการขาด : อาการผันแปรตามชนิดของพืชลำต้นเนื้อเยื่อเจริญปลายรากมักตาย ปลายรากมักบวมมีสีซีดในเนื้อเยื่อพืชมักมีสีซีดไม่ทำงาน(โรคใบเน่าของพืช) ส่วนใบแสดงอาการต่าง ไปประกอบด้วยใบบาง แตกง่าย ใบหงิก เหี่ยวเฉาและเป็นจุดสีซีด

อาการเป็นพิษ : ปลายใบเหลืองตามด้วยเนื้อเยื่อใบตายจากปลายใบหรือเส้นใบไปยังแกนใบ

11) สังกะสี

อาการขาด : ข้อปล้องของพืชสั้น ขนาดของใบเล็ก เส้นใบมักปดหรือย่นบางครั้ง ซีดระหว่างใบ

อาการเป็นพิษ : เกิดอาการซีดจากเหล็กเป็นพิษในพืช

12) ทองแดง

อาการขาด : การขาดทองแดงในสภาพธรรมชาติหายากใบอ่อนมีสีเขียวแก่และผิดรูปไปและมักพบจุดแผลตายบนใบ

อาการเป็นพิษ : การเจริญเติบโตลดลงตามด้วยสีซีดจากเหล็กเป็นพิษ แคระแกรน ลดการแตกพุ่ม รากมีสีเข้ม และยางผิดปกติ

13) โมลิดีนัม

อาการขาด : สีซีดในพื้นที่ระหว่างเส้นกลางใบหรือทั้งเส้นกลางใบในใบแก่ คลายกับอาการขาดไนโตรเจนบางครั้งแกนใบไหมเกรียม

อาการเป็นพิษ : ยากต่อการสังเกตใบมะเขือเทศจะมีสีเหลืองทอง กะหล่ำดอกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงสด

ที่มา : สวทช

 

 

 




ความรู้เบื้องต้นผักไฮโดร

ก่อนเริ่มต้นปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ต้องรู้จักระบบน้ำกันก่อน
ปลูกกัญชากัญชงแบบไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโปนิกส์แบบแนวตั้ง
The Kratky Method คืออะไร?
3 ระบบไฮโดรยอดนิยม
การทำลายพืชที่เป็นโรคใบจุดอย่างถูกวิธี
แหล่งน้ำที่เหมาะสมสำหรับการปลูกผักระบบไฮโดโปนิกส์
เครื่องมือวัดแสง Lux meter
การปลูกผักเคล ราคาดี ไม่ยากอย่างที่คิด
ค่าecและค่าpH ในการปลูกผักแต่ละชนิด
อาการพืชใบเหลือง เกิดจากอะไร แก้ยังไง
การเลือกปั๊มน้ำสำหรับรางปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ให้เหมาะสม
เกร็ดความรู้... เกี่ยวกับสารละลายธาตุอาหารปุ๋ยเอบี
เคล็ดลับการปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งที่คนไม่ค่อยรู้
เคยสงสัยไหมว่าผักไฮโดรเติบโตได้อย่างไร เมื่อไม่มีดิน?
ปัญหาเรื่องระบบน้ำที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
งานวิจัยเรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
การเปรียบเทียบระหว่างการวัดค่าpH ด้วย pH meter เทียบกับ การวัดด้วย drop test
ปลูกผักกินเองง่ายๆแบบคนขี้เกียจ
ความรู้เรื่องการปลูกผักด้วยหลอด LED
ความแตกต่างระหว่างการปลูกแบบน้ำนิ่ง กับ การปลูกแบบน้ำวน
ราชินีของผักทั้งมวลผักเคล (kale)
เคล็ดลับในการเลือกซื้อปุ๋ยเอบี!!!
จุดแข็งของการปลูกพืชด้วยระบบHydroponics
ก่อนปลูกผักสลัดขายต้องรู้อะไรบ้าง?
ปลูกขึ้นฉ่ายน้ำนิ่ง
ครบเครื่องเรื่องปุ๋ยแบบชาวบ้าน
น้ำหมักชีวภาพสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
การปลูกผักไฮโดรน้ำนิ่งแบบง่ายๆเองที่บ้าน
เทคนิคการเพาะเมล็ดในเพอร์ไลท์และเวอร์มิคูไลท์
การใช้กับดักกาวเหนียวในฟาร์มผักไฮโดรของเรา
โรคที่เกิดกับต้นอ่อนหรือกล้าผัก
มาทำความรู้จักผักสลัดของเรากันดีกว่า
ปัจจัยที่มีผลต่ออายุของเมล็ดพันธุ์
การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
เชื้อ Pythium…….สาเหตุสำคัญของโรคที่เกิดกับราก
ช่องทางการขายผักสลัด
วิธีการล้างและเก็บผักสลัดให้อยู่ได้นานๆ
วิธีการปลูกผักร็อกเก็ต
แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์วิธีการป้องกันและกำจัด
ขั้นตอนการกำจัดแมลงเพื่อลดปัญหาแมลงและศัตรูพืชของผักไฮโดรโปนิกส์
โปรแกรม NutriCal article
โรคใบจุดผักไฮโดร
​เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนคิดจะปลูกผักสลัดขาย
ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดร
การปลูกผักกาดขาวแบบไม่ง้อปั๊มทานเองในครอบครัว
สูตรอาหารพืช ปุ๋ยA+B
การปลูกผักบุ้งระบบไฮโดรแบบน้ำนิ่ง
ระบบการปลูกผักโดยไม่ใช่ดินในแบบต่างๆ
ทำความรู้จักผักสลัดไฮโดรโปนิกส์
ประวัติความเป็นมาไฮโดรโปนิกส์
ความรู้ทั่วไปของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ article
ไฮโดรโปนิกส์ปลูกอะไรได้บ้าง
ไฮโดรโปนิกส์น้ำนิ่งคือ?
เทศกาลกระเช้าผักเริ่มขึ้นแล้ว
กัญชงคืออะไร?
กัญชง V.S. กัญชา ต่างกันอย่างไร
9 ผักสวนครัวที่แนะนำให้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์
สิ่งที่ต้องดูแลและควบคุมเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
ต้องดูแลควบคุมอะไรบ้างเมื่อปลูกผักไฮโดรฯ
เรื่องปุ๋ยไฮโดรโปนิกส์อินทรีย์
ผักไฮโดรโปนิกส์ ทำให้เกิดมะเร็ง...จริงหรือ
ปัญหาที่พบบ่อยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์
เปรียบเทียบการปลูกด้วยเพอร์ไลท์และฟองน้ำ
โรคพืชต่างๆในระบบไฮโดรโปนิกส์และการป้องกัน
วิธีการปลูกผัก watercress แบบง่ายๆ
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อหารายได้เสริม
การควบคุมโรคผักโดยชีววิธี-ในการปลูกผักไฮโดรฯไร้สาร