H2O Hydro Garden
ที่อยู่: เลขที่ 8 ซอย นาคนิวาส 53 ลาดพร้าว 71 แขวง ลาดพร้าว กทม. 10230
เบอร์โทร: 02 932 9200 มือถือ: 086 500 9698, 084 106 6831
แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์วิธีการป้องกันและกำจัด แมลงที่พบบ่อยในผักไฮโดรโปนิกส์ แมลงกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นสิ่งที่ต้องเจออย่างแน่นอนนะคะ ยิ่งท่านที่ทำระบบเปิด(ไม่กางมุ้ง)แล้วยิ่งต้องดูแลมากเป็นพิเศษเพราะแมลงสามารถขยายพันธุ์ได้เร็วมากถ้าไม่มีการป้องกันและจัดการอย่างถูกวิธี สามารถทำลายผักของเราให้เสียหายเป็นจำนวนมากได้อย่างแน่นอนค่ะ 1. เพลี้ยอ่อน
เป็นแมลงที่มีปากดูดขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายๆไข่ ท้ายลำตัวมีท่อ2ท่อยื่นออกมา ส่วนใหญ่มีสีเขียวอ่อนเกือบขาว เพลี้ยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชตรงแถวใต้ใบหรือยอดอ่อนนะคะ และจะสร้างปีกเพื่อบินไปหาแหล่งอาหารใหม่เมื่อประชากรเพลี้ยเริ่มหนาแน่น การที่เพลี้ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช จะทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบบิดงอ และมีการขับถ่ายของเหลวเหนียวๆออกมาเปรอะเปื้อนใบผักอีกด้วย จะเห็นเป็นคราบๆสีดำๆ เพลี้ยอ่อนสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มีวงจรชีวิตค่อนข้างสั้น ประมาณ 6-13 วัน และออกลูกได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ค่ะ การป้องกัน ใช้สารสะเดาหรือน้ำส้มควันไม้ อัตราส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นผักในแปลง สัปดาห์ละครั้ง การกำจัด 1. ใช้สารสะเดา อัตราส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้โดนตัว ความถี่ 2-3 วัน/ครั้ง 2. ใช้สารที่มีแรงตึงผิวสูง เช่น น้ำยาล้างจาน ฉีดพ่น อัตราการใช้ 2-3 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร สามารถใช้กำจัดเพลี้ยอ่อนได้ดี เพราะจะเข้าไปอุดรูหายใจของเพลี้ยอ่อน และตายในที่สุด 3. ใช้สารชีวภาพ ไบโอไซด์ ฉีดพ่น อัตราการใช้ 20 cc/น้ำ 20 ลิตร
2. แมลงหวี่ขาว
แมลงหวี่ขาวเป็นแมลงที่มีปากดูดขนาดเล็ก ความยาวของตัวประมาณแค่1 มิลลิเมตรสีขาว ส่วนใหญ่ชอบรวมตัวเป็นกลุ่มอยู่ใต้ใบพืช ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ไข่แมลงหวี่ขาวจะเป็นวงรีใต้ใบ ระยะไข่ 8-9วัน และตัวอ่อน 11-18วัน สามารถวางไข่ได้ประมาณ 100 ฟองต่อครั้งระยะที่เป็นดักแด้ประมาณ 3-11 วัน วงจรชีวิตรวม 27-35วัน การป้องกัน 1. ใช้สารสะเดาหรือน้ำส้มควันไม้ อัตาส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นผักในแปลง สัปดาห์ละครั้ง 2. ติดตั้งกับดักกาวเหนียวในแปลงปลูก (แผ่นกาวต้องเป็นสีเหลือง เพราะสีเหลืองดึงดูดแมลงได้ดีกว่าสีอื่นๆ) การกำจัด 1. เพิ่มกับดักกาวเหนียวในแปลงเพื่อลดปริมาณแมลงหวี่ขาว 2. ใช้สารชีวภาพ ไบโอไซด์ ฉีดพ่น อัตราการใช้ 20 cc/น้ำ 20 ลิตร 3. ใช้สารชีวภาพ สารสะกัดใบยาสูบ โทแบคโค หรืออื่นๆ อัตราส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบ ฉีดพ่นในแปลงปลูกให้โดนตัวแมลงหวี่ขาว และให้โดนใต้ใบพืช เพราะแมลงหวี่ขาวจะหลบซ่อนตัวใต้ใบพืช ความถี่ 2-3 วัน/ครั้ง กรณีแมลงระบาดและติดตามผลหากยังพบแมลงหวี่ขาวในปริมาณมากอยู่ให้ทำตามข้อ 4 4. ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นเชื้อราที่สามารถใช้กำจัดแมลงได้ คือ เชื้อรา เมตตาไรเซียม ซึ่งทางการค้ามีหลายยี่ห้อ ลักษณะจะเป็นผงซึ่งเป็นสปอร์ของเชื้อราเมตตาไรเซียม โดยใช้ผสมน้ำฉีดพ่น อัตราส่วนตามฉลาก ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืชและเน้นที่ใต้ใบ เพื่อให้เชื้อโดนตัวและไข่ของแมลงหวี่ขาว การฉีดเชื้อราเมตตาไรเซียมให้ได้ผลดี ควรฉีดตอนเย็นที่ใม่มีแสงแดดแล้ว เพราะแสงแดดจะทำให้สปอร์ของเชื้อราเมตตาไรเซียมอ่อนแอหากยังพบ แมลงหวี่ขาวในปริมาณมากอยู่ให้ทำตาม ข้อ 5
3. แมลงวันหนอนชอนใบ
เป็นแมลงขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีปีกใส ท้องละขามีสีออกเหลือง การเข้าทำลายของแมลงวันสามารถเข้าทำลายทั้งตัวเต็มวัยและหนอน โดยตัวเต็มวัยจะทำให้เกิดหลุมบนใบผักเพื่อใช่วางไข่ และหนอนจะชอนไชอยู่ในใบพืชเห็นเป็นเส้นคดเคี้ยว ระยะไข่ประมาณ 2-4วัน และเมื่อฟัก หนอนจะเริ่มกินเนื้อเยื่อสีเขียวในใบเห็นเป็นเส้น ตัวหนอนมีสีเหลืองอ่อน หัวแหลมท้ายป้าน ขนาดโตเต็มวัยประมาณ 1-1.8 มิลลิเมตรระยะตอนเป็นหนอนใช้เวลา 7-10 วัน และเมื่อใกล้เป็นดักแด้ มันจะกัดใบออกมาแล้วดีดตัวลงไปเข้าดักแด้ภายในดิน หรือตามใบพืช ระยะดักแด้ประมาณ 5-7วัน และจะเริ่มวางไข่เมื่ออายุ 1-5 วัน วงจรชีวิตทั้งหมดรวม 14-21วันค่ะ การป้องกัน 1. ติดตั้งกับดักกาวเหนียวในแปลงปลูก (แผ่นกาวต้องเป็นสีเหลือง เพราะสีเหลืองดึงดูดแมลงได้ดีกว่าสีอื่นๆ) 2. ฉีดพ่นสารสะเดา และ น้ำส้มควันไม้ อัตาส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร สัปดาห์ละครั้ง การกำจัด 1. เก็บใบพืชที่ถูกแมลงทำลายไปเผาทิ้ง เพื่อกำจัดดักแด้ของแมลงวันหนอนชอนใบ 2. ใช้สารสะเดาฉีดพ่น อัตราส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ความถี่ 2-3 วัน/ครั้ง กรณีแมลงระบาด
4. เพลี้ยไฟ
ลงขนาดเล็กอีกชนิดที่ทำล้ายผักของเราค่ะ ตัวเรียวยาวประมาณ 0.5-2 มิลลิเมตร มีปีกเรียวยาวและแคบ 2 คู่ ลำตัวมีสีเหลืองอ่อน น้ำตาลเข้ม และสีดำ เพลี้ยไฟสามารถบินได้ ไว และสามารถกระโดดย้ายไปยังพืชอาหารได้ เพลี้ยไฟมีอายุค่อนข้างสั้น จึงขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในอากาศร้อน ตัวเมียจะวางไข่ขนาดเล็กรูปร่างคล้ายถั่วลงบนเนื้อเยื่อพืช ประมาณ25-75ฟอง ระยะไข่ประมาน 6 วัน จึงฟักเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะมีขนาดเล็กมากประมาณ 0.2-0.3 มิลลิเมตรวันขาวใส ยากที่จะมองเห็น จากนั้นจะลอกคราบ 2 ครั้ง มีขนาดใหญ่ขึ้น มักอยู่รวมกันดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ระยะตัวอ่อนประมาณ 10-14วัน จากนั้นจึงเข้าดักแด้ 4-5วัน บางชนิดเข้าดักแด้ตามส่วนของพืช แต่ส่วนให้จะทิ้งตัวเข้าดักแด้ในดิน เวลาวงจรชีวิตรวม 20-30 วัน การป้องกัน 1. ใช้สารสะเดาหรือน้ำส้มควันไม้ อัตราส่วน 15-20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นต้นผักในแปลง สัปดาห์ละครั้ง 2. ใช้เชื้อจุลินทรีย์ ทริปโตฝาจ ฉีดพ่น สัปดาห์ละครั้ง การกำจัด 1. ใช้สารสกัดใบยาสูบ โทแบคโค ฉีดพ่น 2-3 สัปดาห์ละครั้ง กรณีแมลงระบาก 2-3 วัน/ครั้ง
|